คำว่า “motion graphic” หลายคนอาจจะได้ยินบ่อยๆ บางคนก็จำสับสนว่าเป็นประเภทหนึ่งของ animation หรือเปล่า ก่อนอื่นเลย ผมขออธิบายก่อนให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า “motion graphic” คืออะไร motion graphic นั้น ถ้าแยกออกเป็นสองคำจะได้คำว่า motion ซึ่งแปลว่า การเคลื่อนไหว และ graphic ซึ่งก็คือ ศิลปะแขนงหนึ่งที่สื่อความหมายด้วยการใช้เส้น เช่น แผนภูมิ แผนภาพ การ์ตูน ดังนั้น motion graphic ก็คือ การสร้างภาพด้วยกราฟฟิคให้มีการเคลื่อนไหวได้ในหลากหลายมิตินั่นเอง ซึ่งต่างกับ animation ตรงที่ไม่มีตัวละครเป็นตัวดำเนินเรื่อง หรือมีบทพูด และการตัดฉากสลับเหมือนภาพยนตร์ แต่จะเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวให้กับ graphic แทน และใช้การพากย์เสียงบรรยายประกอบ นิยมใช้กับเรื่องราวที่มีข้อมูลเยอะ เข้าใจยาก ให้ออกมาในรูปเเบบที่สนุกและเข้าใจง่ายมากขึ้น
ตัวอย่าง motion graphic โดย infomotion thailand
การทำ motion graphic สักชิ้น ก็ต้องเป็นขั้นเป็นตอน ถึงจะออกมาได้อย่างสมบูรณ์ เรามาดูกันดีกว่า ว่า ขั้นตอนในการทำ motion graphic ของ infographic thailand มี step อย่างไรบ้าง ซึ่งมีคนทำหน้าที่ 2 คน คือ creative และ motion graphic designer
1.Direction Concept
เมื่อได้รับบรีฟจากลูกค้ามาแล้ว เป็นขั้นตอนของ creative ที่จะต้องคิดหาโครงสร้างทิศทางของเนื้อเรื่องที่จะเล่า โดยต้องรู้ว่า ลูกค้าต้องการขายสินค้าอะไร ? คอนเซปของแบรนด์ลูกค้า ? โดย Direction concept จะมีให้เลือกมากกว่า 1 เพื่อที่จะได้เขียนสคริปเล่าได้ต่างกันนั่นเอง เพื่อเป็นแนวทางให้ลูกค้าเลือก
- Mood board
มีไว้เพื่อกำหนดอารมณ์ของงาน ให้ทีมงาน และ ลูกค้า เห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง mood board จะช่วยให้เข้าใจภาพได้มากขึ้น การกำหนด mood board ส่วนมากจะเป็น การใช้สี สไตล์ของคาแรกเตอร์ แม้กระทั่ง ใช้ฟ้อนท์อะไร โดยมีมากกว่า 2 แบบ เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพมากขึ้นก็จะส่งพร้อม reference video ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในส่วนนี้ motion graphic designer จะเป็นคนออกแบบคิดควบคู่กับ creative
- Script
เมื่อลูกค้าเลือก Direction concept มาแล้ว creative ก็จะสามารถนำไปเขียน Script ต่อได้ โดย แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
3.1 Introduction : เป็นส่วนเริ่มแรก ซึ่งต้องเล่าให้น่าสนใจ และสร้างความน่าติดตาม เช่น พูดถึงปัญหา หรือ อินไซต์ที่ตรงกับคนดู เกริ่นขึ้นมานำก่อน เพื่อเชื่อมโยงต่อไปที่ main idea
3.2 main idea : เป็นใจความหลักของเนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นการขายประโยชน์ของ product
3.3 Ending : คือ การสรุปเรื่องราวทั้งหมด ว่า ต้องการบอกอะไรคนดู ให้คนดูรู้สึกอะไร เช่น คุ้มค่านะ ปลอดภัยนะ เป็นต้น เป็น keyword สั้นๆ
โดยการเขียน Script นั้นควรยาวตั้งแต่ 1 นาทีครึ่งและไม่ควรเกิน 2 นาทีครึ่งครับ เพื่อความกระชับและความเข้าใจง่าย โดยต้องไม่สั้นไม่ยาว จนเกินน่าเบื่อครับ
4. Storyboard
เมื่อผ่านขั้นตอนการเขียน Script แล้ว ก็จะเอา Script เหล่านั้นมาบอกเล่าคู่กับภาพ ซึ่งเรียกว่า การเขียน Storyboard ซึ่ง process นี้ motion graphic designer จะเป็นคนทำ เพื่อทำให้เห็นภาพและเข้าใจตรงกันมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
4.1 Storyboard มือ
การสเก็ตภาพแบบง่ายๆ ควบคู่กับสคริปต์เพื่อเล่าเรื่องราวให้เห็นภาพมากขึ้น โดยมีเขียนประกอบด้วยว่า ภาพนี้เล่าว่าอะไร มี การเคลื่อนไหวแบบไหน เพื่อง่ายต่อการแก้ไข เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
4.2 Storyboard ai
เมื่อ storyboard มือ ผ่านแล้ว ก็นำแต่ละฉากไปขึ้นใน Adobe illustrator ซึ่งทำเป็นฉากพร้อม animate แล้วนำมาเรียงเป็น storyboard โดยรูปแบบ graphic จะตาม mood board ที่ลูกค้าเลือก
- Animate
นำฉากที่สร้างใน Adobe illustrator มาแยก layer และ ทำให้เคลื่อนไหวใน Adobe after effect โดย motion graphic designer โดยก่อน animate ควร อัดเสียงไกด์ตาม script ก่อน เพื่อจะได้ animate ภาพได้ตามเสียงโดยไม่ผิดเพี้ยนตาม timeline พร้อมทั้งใส่ sound effect
- Mix sound
เมื่อ animate เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการอัดเสียงโฆษกจริงที่บรรยาย motion graphic โดยอัดที่ห้องอัดเสียง เพื่อทำให้ได้เสียงออกมามีคุณภาพมากที่สุด
ทั้งหมดนี้คือ ขั้นตอนที่เราใช้ในการทำ motion graphic หวังว่าทุกคนคงเข้าใจ process ในการทำมากขึ้น แล้วนำไปปรับใช้ให้ motion graphic ออกมาให้ได้อย่างมีคุณภาพมากที่สุดนะครับ
แสดงความคิดเห็น