Kepler-452b
เรื่องที่น่าตื่นเต้นอีกหนึ่งเรื่องในรอบปีนี้ คงไม่พ้น เมื่อ NASA แถลงข่าวเกี่ยวกับการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่คล้ายโลก ผ่านการใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศประสิทธิภาพสูง “เคปเลอร์” Kepler (ง่ายๆ ก็คือ ยานอวกาศติดกล้องดูดาวแล้วส่งออกไปในอวกาศนั่นเอง) เจ้าดาวที่ค้นพบที่ว่านี้ เลยได้ชื่อว่า “เคปเลอร์-452บี” (Kepler-452b) ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง
ดาวฤกษ์ของเจ้าเคปเลอร์-452บี นี้ เป็นดาวฤกษ์ระดับ G เหมือนกับดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิพอ ๆ กัน แต่.. มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 10% ต้องบอกก่อนนะครับว่า ภาพที่เราเห็นกันนั้น ไม่ใช่ภาพจริงของ เจ้าเคปเลอร์ เป็นภาพสร้างขึ้นมาจาก Computer จากสภาพความเป็นไปได้ทางธรรมชาตินะครับ โดยคำนวนจากค่าขนาดการลดลงของแสง คำนวนอุณหภูมิจากเสปกตรัมที่เปร่งออกมา นำมาสร้างเป้นรูปจำลอง และความน่าจะเป็น
ทำไมเราต้องตื่นเต้น กับ Kepler-452b
- มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลกมาก แม้จะมีขนาดใหญ่กว่า 60% และ แรงโน้มถ่วงมากกว่าโลกประมาณ1เท่า แต่ มีมวลมากกว่าโลกเพียง10% ซึ่งถือว่ามวลกับอุณหภมิ ใกล้เคียงกันมาก
- สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยน้ำในการดำรงชีวิตใช่มั้ยล่ะ เจ้าKepler-452bนี้ อยู่ในรัศมีที่พอเหมาะ ให้น้ำเป็นน้ำปกติ นั่นเอง
แล้วเราไปถึงและอยู่บนดาวได้มั้ยนะ ถ้าเทียบการเดินทางไปดวงจันทร์ ต้องใช้เวลา 4 วันแล้ว เดินทางไปดาวพลูโต 9 วัน แต่ถ้าคิดจะไปเหยียบ เจ้าKepler-452b แล้ว ต้องใช้เวลาถึง 25 ล้านปี! โอโห เราคงไม่ได้อยู่เห็นแล้วล่ะครับ เนื่องจากดาวที่ห่างออกไป 1400 ปีแสง ข้อมมุลที่เราได้ จึงเป็นข้อมูลในอดีตเมื่อ 1400 ปีก่อน นั่นก็แปลว่า กว่าเราจะไปถึง ดวงดาวอาจดับไปแล้ว อาจจะพบหรือไม่พบมนุษย์ต่างดาวอย่างที่เราคาดการณ์ไว้ แล้วถ้าเราไปถึง เราก็อาจจะเตี้ยล่ำ เพราะมนุษย์อยู่ได้โดยวิวัฒนาการให้แข็งแรงขึ้นและเตี้ยลงตามแรงโน้มถ่วงที่มากกว่า ยังไงก็ตามการค้นพบ Kepler-452b ถือว่าเป็นข่าวดีมากๆ เป็นความสำเร็จที่น่านับถือของวงการดาราศาสตร์ เราลองมาลุ้นกันว่า ปีต่อๆไป NASA จะค้นพบดาวคู่แฝดของโลกให้เราได้ตื่นเต้นอีกหรือเปล่า!
แสดงความคิดเห็น