คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

banner-for-web-lauch-02

เตรียมพร้อมประเทศไทย สู่ดิจิตอลไทยแลนด์

Published by Infographic Thailand

Digital Thailand 4.0-01 (1)

 

ในสังคมยุคปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่า ประชาชนในสังคมมีการใช้ระบบดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้น วิธีการเข้าถึงระบบดิจิทัลทำได้ง่ายขึ้น สะดวกสบาย เพียงแค่มีมือถือสมาร์ทโฟนเครื่องหนึ่ง ก็ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงวิถีชีวิตแบบดิจิทัลได้แล้ว นับเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมแบบดิจิทัล

 

จะเป็นเรื่องดีแค่ไหนหากเราสามารถใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประโยชน์และศักยภาพให้กับประเทศ  ทำให้เราสามารถมีการรักษาทางการแพทย์แบบทางไกล สามารถพัฒนาการเกษตรให้ทันสมัย ควบคุมผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่หากเราเข้าสู่สังคมดิจิทัลแบบไร้ทิศทาง จะเกิดอะไรขึ้น? ส่วนหนึ่งที่สังคมเรากำลังเป็นอยู่ก็คือมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การขาดการไตร่ตรองด้านข้อมูลจนก่อให้เกิดความเสียหาย มีมิจฉาชีพด้านไซเบอร์ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งมากขึ้น ทุกอย่างมักมีสองด้านทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเราไม่มีมาตรการควบคุมหรือแผนพัฒนาประเทศด้านดิจิทัลที่เป็นรูปธรรม ปัญหาเหล่านี้ก็คงจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณ

 


SMEs

 

จากคลิปวิดีโอที่เกี่ยวกับระบบดิจิทัลกับการทำธุรกิจ (digital SMEs) จะเห็นได้ว่าระบบดิจิทัลทำให้การค้าสะดวกสบายขึ้น ทั้งในแง่การผลิต การรับออเดอร์ การกระจายสินค้า การหากลุ่มเป้าหมาย เป็นการเน้นย้ำว่าการนำระบบดิจิทัลเข้ามาทำเป็น e-commerce นั้นสามารถทำให้ธุรกิจการค้ามีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก เมื่อมีการพัฒนาระบบดิจิทัลในการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบดิจิทัลภาครัฐ ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจโดยรวมได้ และหากผู้ประกอบการไม่ปรับตัวให้เข้ากับระบบดิจิทัลก็อาจทำให้ธุรกิจล้าหลังจนสูญเสียศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในที่สุด ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยความเร็วจากเทคโนโลยีใหม่ ผู้ที่เห็นโอกาสและช่องทางและสามารถปรับตัวได้ไวจะได้เปรียบมากกว่า

smart farm

 

 

       หรือแม้กระทั่งในภาคการเกษตร (digital farm) ก็มีการใช้ระบบดิจิทัลมาควบคุมผลผลิตทางการเกษตร เช่น การใช้โดรนควบคุมการพ่นยาในไร่สวน หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การกระจายสินค้าไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็วและตรงกลุ่มลูกค้า ประชาชนสามารถใช้ระบบดิจิทัลเพื่อการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อใช้ระบบดิจิทัลในภาคการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบดิจิทัลภาครัฐหรือการทำธุรกิจ ก็จะช่วยส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ให้มีผลผลิตที่ดีมีมูลค่ามากขึ้น ต้นทุนลดลง จนทำให้มีรายได้มากขึ้นด้วย ต่อไปนี้อาชีพเกษตรกรก็จะไม่ใช่อาชีพที่น่าอายอีกต่อไป แต่จะเป็นอาชีพที่ทันสมัยและน่าภาคภูมิใจ ในทางกลับกันหากเกษตรกรไม่ปรับตัวยอมรับการใช้งานระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยงานด้านภาคการเกษตร ก็จะทำให้ผลิตผลทางการเกษตรไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรส่งผลผลิตไม่ตรงเวลา ทำให้ธุรกิจไม่ก้าวหน้า เป็นต้น

เมื่อโลกเรากำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เราคงไม่สามารถปฏิเสธการที่จะต้องพึ่งพาดิจิทัลเข้ามาอยู่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทางที่ดีคือเราจะต้องตื่นตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ร่างแผนพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทยซึ่งเรียกว่า ‘ดิจิทัลไทยแลนด์’ ซึ่งนี่จะเป็นเสาหลักให้ไทยเราไปถึงเป้าหมายของการเป็นประเทศดิจิทัล ประเทศไทยจะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาขับเคลื่อนสังคมในด้านต่างๆนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

เนื่องจากระบบดิจิทัลนั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงมีการกำหนดภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนดทิศทางและพัฒนาเป้าหมายใน 4 ระยะ ประกอบด้วย:

 

  • ระยะที่ 1 Digital Foundation ประเทศไทยลงทุนสร้างรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล กำหนดให้ประเทศไทยสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในที่สาธารณะเข้าถึงชุมชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบดิจิทัล
  • ระยะที่ 2 Digital Thailand I inclusion เป็นช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันกำหนดให้ประเทศไทยมีโครงข่ายความเร็วสูง เปลี่ยนการแพร่ภาพและกระจายเสียงจากระบบอนาล็อกเข้าสู่ระบบดิจิทัล ภาคการเกษตรภาคอุตสาหกรรมมีการใช้ระบบดิจิทัลขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น ในภาคการศึกษาใช้ระบบดิจิทัลเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล พัฒนาหลักสูตรและสามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ในระบบการบริหารจัดการภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตรวจสอบได้ มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ มีการทำธุรกิจแบบ e-business รวมถึง e-logistic
  • ระยะที่ 3 Digital Thailand II full transformation ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลได้เต็มรูปแบบ คือให้ทุกบ้านมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน ภาคอุตสาหกรรมใช้นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนผ่านเป็นโรงงานอัจฉริยะ ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัล ภาครัฐบาลมีการทำงานด้วยระบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ให้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนธุรกิจ เศรษฐกิจและสังคม
  • ระยะที่ 4 Global digital leadership ก้าวเข้าสู่สังคมที่ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ จัดตัวเองอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว วางแผนให้มีพัฒนาทางด้านระบบดิจิทัลจะทำให้ระบบเศรษฐกิจพัฒนาขึ้น มีการติดต่อสื่อทางไกลง่ายดายขึ้นด้วยระบบดิจิทัล รวมถึงการทำงานภาครัฐมีการทำงานด้วยระบบดิจิทัลมีความโปร่งใส รวดเร็ว ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการทำงานของภาครัฐโดยไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ

ภาพรวมของเป้าหมายในการพัฒนาระบบดิจิทัลไทยแลนด์นั้น แบ่งเป้าหมายที่สำคัญๆเป็น 4 เป้าหมาย ประกอบไปด้วย

 

  1. เป้าหมายที่หนึ่ง เนื่องจากระบบดิจิทัลมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาระบบดิจิทัลไทยแลนด์จึงเป็นไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเพื่อแข่งขันกับเวทีระดับโลก ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการบริการ ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งจากภายใน ธุรกิจต่างๆใช้นวัตกรรมดิจิทัลในการพัฒนาธุรกิจ สร้างศักยภาพสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดโลก โดยมีตัวชี้วัดคือมีอุตสาหกรรมดิจิทัลเพิ่มขึ้นและจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงสุด 15 อันดับแรก
  2. เป้าหมายที่สอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยระบบดิจิทัล ให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งแยกสภาพทางกายภาพใดๆ โดยมีตัวชี้วัดคือประชาชนสามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลอย่างเท่าเทียม อันดับการพัฒนาด้านไอซีทีของประเทศอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาสูงสุด 40 อันดับแรก
  3. เป้าหมายที่สาม เตรียมความพร้อมอบรมความรู้ทางดิจิทัลให้กับบุคลากร เพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ความสามารถทักษะทางด้านดิจิทัลเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ มีความเข้าใจในระบบดิจิทัลและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานในอาชีพของตนได้
  4. เป้าหมายที่สี่ เพื่อปฎิรูปกระบวนการทำงานและการให้บริการของภาครัฐ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้มีการทำงานมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยกำหนดตัวชี้วัดอยู่ที่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนา 50 อันดับแรก

 

นอกจากนี้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กำหนดจุดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

         ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลคุณภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ กำหนดให้อนาคตมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกลายเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยมีแผนงานคือ

  • มีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
  • ค่าบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไม่เกินร้อยละ 2 ของรายได้มวลรวมประชาชาติต่อหัว
  • ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ
  • โครงข่ายการแพร่สัญญาณภาพโทรทัศน์และกระจายเสียงวิทยุเป็นระบบดิจิทัลทั่วประเทศยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล คือ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ภาคธุรกิจลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานทางธุรกิจ เร่งการส่งเสริมทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีเป้าหมายกำหนดไว้คือ
  • ผู้ประกอบการในไทยมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น
  • ธุรกิจ SMEs ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรในประเทศไทยเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นและผลักดันไปแข่งขันยังเวทีระดับโลก
  • ธุรกิจ SMEsมีความสามารถใช้นวัตกรรมมีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
  • สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลต่อ GDP เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
  • ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมดิจิทัลของภูมิภาคยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะเกษตรกร ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ สามารถเข้าถึงระบบดิจิทัล ประชาชนมีความรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร โดยมีเป้าหมายคือ
  • ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะผู้อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง
  • ประชาชนรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอย่างดี
  • ประชาชนสามารถใช้ระบบดิจิทัลในการเข้าถึงด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการบริการสาธารณะต่างๆ
    ยุทธศาสตร์ที่ 4
    ปรับเปลี่ยนภาครัฐเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบ มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีปรับปรุงการทำงานเพื่อให้ขั้นตอนการให้บริการมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีเป้าหมายคือ
  • การบริการของภาครัฐตอบสนองบุคคลทุกภาคส่วนได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ
  • ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐได้อย่างสะดวก ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมและตรวจสอบความโปร่งใสได้
  • มีการใช้ระบบดิจิทัลในภาครัฐเพื่อจัดเก็บและบริหารข้อมูลภาครัฐไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รองรับการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานและให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ยุทธศาสตร์ที่ 5
    พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล คือการสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดในการประกอบอาชีพ กลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถในระบบดิจิทัลจะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตทางระบบเศรษฐกิจ  โดยมีเป้าหมาย คือ
  • บุคลากรในวิชาชีพที่เกี่ยวกับระบบดิจิทัลมีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลนหรือมีความสำคัญต่อการก่อสร้างนวัตกรรมดิจิทัล
  • เมื่อมีการพัฒนาระบบดิจิทัล จะเกิดการจ้างงานแบบใหม่ ธุรกิจใหม่ อาชีพใหม่ จำนวน 20,000 งาน ภายในปี 2563
  • บุคลากรที่ทำงานทุกสาขาอาชีพมีความรู้ด้านระบบดิจิทัลยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึง การกำหนดมาตรฐาน กฎระเบียบและกติกาที่มีประสิทธิภาพทันสมัย สอดคล้องกับหลักสากลมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ มุ่งเน้นการสร้างความปลอดภัยในการใช้ระบบดิจิทัล  โดยมีเป้าหมายคือ
  • ประชาชนและภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์
  • มีชุดกฎหมาย กฎระเบียบเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีดิจิทัล
  • มีมาตรฐานข้อมูลที่เป็นสากลเพื่อรองรับการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ในการทำธุรกรรม

         เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเป้าหมาย เราทุกคนจะต้องตระหนักถึง รับรู้ เข้าใจ ตื่นตัว ปรับตัว และเตรียมตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ นี่ถือเป็นข่าวดีที่ประเทศเรามีแผนพัฒนาออกมาอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็น ดีกว่าการเติบโตไปอย่างไร้ทิศทาง ก็ไม่ต่างอะไรกับการปิดตาแล้วข้ามถนน เราจะต้องรู้เท่าทันโลกดิจิทัล เพื่อลูกและหลานของเราจะได้เติบโตขึ้นมาในสังคมที่ก้าวหน้า มีพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่ไปด้วย หากแผนนี้สำเร็จได้ตามเป้าหมายจริง เราเชื่อว่าประเทศของเราจะพัฒนาขึ้นได้อย่างก้าวกระโดดทีเดียว ตอนนี้พวกเราก็ได้แต่รอดูทิศทางการทำงานของรัฐบาล ว่าแผนอันสวยหรูที่วางไว้นี้จะเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร

Shared on 31 JUl 2014 in Politics Trends

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย Single Gateway...

                 อินเทอร์เน็ตแทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 ในสังคมโซเชียลอย่างทุกวันนี้ ด้

จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อรัฐบาลคุม Internet

                 อินเทอร์เน็ตแทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 ในสังคมโซเชียลอย่างทุกวันนี้ ด้

ความลับของการชูสามนิ้ว

               ชูสามนิ้ว ! การเเสดงออกทางสัญลักษณ์สุดฮิตในประเทศไทยขณะนี้ ที่รีเฟรชหน้า

banner-for-web-lauch-02