เคยฝันไหมที่จะขึ้นไปยืนบนจุดสูงสุดของยอดเขาเอเวอร์เรสต์ หรือฝันใกล้ ๆ ที่จะพิชิตยอดเขาสูงของไทย ไม่ว่าจะที่ไหน ๆ คุณก็สามารถออกไปแตะขอบฟ้าเหล่านั้นได้ ถ้าเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทาง
มาดู 8 ขั้นตอนปีนเขาง่าย ๆ ฉบับผู้เริ่มต้น ที่รับประกันว่าหนุ่มสาวขาลุยทั้งหลายเตรียมแพคของออกจากบ้านกันได้เลย!
- เลือกสไตล์ปีนเขาที่ชอบ
ก่อนอื่นมาเริ่มจากการสำรวจตัวเองกันก่อนดีกว่า ว่าตัวคุณนั้นชื่นชอบการปีนเขาแบบไหน
Bouldering – เหมาะกับผู้เริ่มต้นไม่มีประสบการณ์ สามารถปีนระยะสั้น 3-4 เมตร มีเส้นทางที่ท้าทาย เห็นแบบนี้แค่มีรองเท้าปีนเขาคู่ใจสักคู่ก๋ลุยได้เลย
Sport Climbing – เหมาะกับผู้เริ่มต้นหรือผู้เล่นทั่วไป จะเป็นการปีนโดยใช้เชือก ซึ่งมีการกำหนดเส้นทางเอาไวเแล้ว การปีนเขาแบบนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมมากเลยทีเดียว
Treditional Climbing – เหมาะกับผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์สูง ซึ่งผู้ปีนจะต้องปีนและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หน้าผาเอง นับว่าไม่เจ๋งจริงอย่าพึ่งไปทดลองนะครับ
Free Climbing – เหมาะกับผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์สูงเช่นกัน ซึ่งการปีนประเภทนี้ก็ตรงตามชื่อคือมีอิสระ ปีนโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน ฉายเดี่ยวกันไปเลย
- เลือกอุปกรณ์ที่ชอบ
เลือกแบบปีนเขากันไปแล้ว มาเช็คอุปกรณ์กันสักหน่อยดีกว่า
ผงชอล์กและถุงใส – ช่วยลดความชื้นที่มือ เพื่อความถนัดในการเกาะ เพราะถ้าเหงื่อออกขึ้นมาก็เสี่ยงที่จะลื่นได้ง่าย ๆ เลยล่ะ
ฮาร์เนส – สายรัดสะโพกหรือสายรัดนิรภัย สามารถปรับให้เข้ากับสรีระร่างกายของแต่ละคนได้
รองเท้าปีนผา – การเลือกรองเท้าปีนผาควรเลือกแบบที่พื้นเรียบ ไม่มีดอกยาง หัวรองเท้าแคบ เมื่อสวมแล้วต้องรู้สึกคับ
หมวกกันกระแทก – ควรใส่ไว้ป้องกันกรณีที่อาจจะมีเศษหิน หรือสิ่งของตกลงมาระหว่างโรยตัว
เชือกสำหรับปีนเขา – เชือกที่เลือกใช้ ก็ควรจะเป็นแบบที่เหนียว ไม่ยืดง่าย ควรมีความยาวขนาด 45-50-60 เมตร
อุปกรณ์บีเลย์ – ใช้สำหรับผ่อนเชือก และควบคุมความเร็วในการโรยตัว
- เรียนรู้วิธีผูกเงื่อน
“เงื่อนเลข 8” คือเงื่อนที่จะใช้ผูกกันนั่นเอง โดยจะผูกกับฮาร์เนสเพื่อดึงตัวนักปีนผาเอาไว้ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยนักปีนเขาตกลงมา ก็จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้
4.เตรียมพร้อมความแข็งแรงของร่างกาย
มีใจอย่างเดียวไม่พอ ร่างกายก็ต้องพร้อมรับมือด้วย เห็นแบบนี้การปีนเขาไม่ใช่ว่าใครจะทำก็ได้ ควีมีการฝึกเน้นกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เช่น กล้ามเนื้อส่วนท้อง และสะโพก วิธีการออกกำลังกายง่าย ๆ อาทิ ซิทอัพ หรือ Plank เป็นต้น
- วางแผนก่อนปีน
ภูเขาลูกนึงไม่ใช่แค่วงกลมรูปเล็กที่วน 1 วันจะถึงจุดหมาย ดังนั้นนักปีนเขาจะต้องมีการวางแผนเส้นทางก่อนปีนทุกครั้ง เช่น จุดพัก จุดที่จะวางขา และต้องหาเส้นทางที่ดีที่สุด ซึ่งการวางแผนเหล่านี้จะช่วยให้นักปีนเขาออกแรงน้อยลง และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
- ก่อนและหลังปีน
การปีนเขาก็เหมือนการออกกำลังกาย จะต้องมีการ Warm-up ก่อนปีน และ Cool-down หลังปีนทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่ออกแรงไป
- ระหว่างปีน
การปีนที่ถูกต้องก็จะช่วยลดอาการเหนื่อย และปวดเมื่อนกล้ามเนื้อได้เหมือนกัน
ออกแรงแขนน้อย – พยายามทำแขนตรงตลอดเวลาทั้งขาขึ้้น และขาลง
เน้นแรงขา – ใช้ขาในการดันตัวขึ้น และถีบตัวลง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องอย่าลืมหาจุดพักเป็นระยะ ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายบ้างนะครับ
- ฝึก indoor ให้คล่องก่อนออกสนามจริง
จะออกรบยังต้องมีการซ้อมรบ การปีนเขาก็เช่นกัน ก่อนจะเห็นนักปีนเขาปีนกันคล่อง ๆ จนขึ้นไปพิชิตขอบฟ้าได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนมากมาย ดังนั้นเราควรฝึกฝนให้ชำนาญเสียก่อน เพราะในการปีนผาจริงนั้นมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้มากมาย เมื่อเจอสถานการณ์จริงถ้าได้ฝึกจนชำนาญแล้วก็จะสามารถรับมือได้ดีกว่า
ไม่ยากใช่ไหมล่ะครับถ้าคิดจะเริ่มปีนเขาจริง ๆ แต่ถึงจะไม่ยากก็ต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวระดับหนึ่ง ดังนั้นใครที่กำลังอยากจะออกไปพิชิตยอดเขาแล้วล่ะก็ วางแผนกันไว้ตั้งแต่วันนี้เลยนะครับ
“ปีนเขาไม่ยาก แค่อยากให้เริ่ม”
สนใจทำ Infographic ติดต่อ Infographic Thailand
ได้ที่ http://bit.ly/2pU7AOc
หรือ คุณโรส (099-449-2654)
แสดงความคิดเห็น