คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

สอนทำ Draft Infographic (แบบร่าง Infographic) ก่อนขึ้นดีไซน์จริง

Published by Infographic Thailand

 

คิดว่าหลายคนคงจะพอรู้จัก พอคุ้นหูกันอยู่บ้างแล้วกับคำว่า ‘Draft’ ให้ความหมายง่าย ๆ ก็คือภาพร่างนั่นเอง ฉะนั้น Draft Infographic ก็คืออินโฟกราฟิกฉบับร่าง เป็นการลำดับเรื่องราว กำหนด Layout รูปแบบการจัดวาง ข้อความ รวมไปถึงการกำหนดว่าจะให้มีไอค่อนอะไร มีรูปอะไรวางลงไปในงานบ้าง ซึ่ง Draft ก็จะมีทั้งแบบวาดมือ และแบบทำในโปรแกรม illustrator ก็ได้

ส่วนใหญ่แล้ว Draft จะเป็นหน้าที่ของ Ceative ที่จะเป็นคนคิดและจัดการ ก่อนจะส่งให้ Designer เป็นคนออกแบบลงสีต่อไป

 

ทำไมเราต้องทำ Draft ก่อน Design?

  1. ทำให้ Infographic ชิ้นนึง ทำงานได้ไวขึ้น ฝ่าย Designer ไม่ต้องทำงานหนักคิดเองทั้งหมด
  2. กรณีเป็นงานลูกค้า การทำดราฟจะเป็นตัวส่งให้ลูกค้าเช็คงานก่อนออกแบบจริง ว่าตรงตามที่ต้องการไหม จะได้ไม่เสียเวลาแก้ตอนขั้นตอนดีไซน์ซึ่งยุ่งยากกว่า

 

วันนี้เราจะมาสอนมือใหม่ทุกคนในการทำ Draft Infographic ทุกขั้นตอน ทุกข้อสงสัย เราได้รวบรวมมาให้คุณไว้ที่นี่แล้ว!

มาดูกันดีกว่าว่าดราฟ กับงานที่ดีไซน์เสร็จแล้วแตกต่างกันยังไง!?

 

 

1

 

 

จะเห็นว่าดราฟเป็นแค่แบบร่างของดีไซน์ ซึ่งจะมีการลดทอนรายละเอียด ไม่ได้เน้นการวาดเสมือนจริง หรือการลงสี แต่จะเน้นไปที่การจัดวาง การกำหนดข้อความที่จะใส่ลงไปในอินโฟกราฟิก รวมไปถึงไอค่อนที่จะให้ดีไซน์เนอร์ออกแบบด้วย

 

Work Focus Infographic พูดถึงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และได้คุณภาพที่ดีที่สุดตามแบบสตีฟ จ็อบส์

เราจัดการทำดราฟกับเรื่องนี้อย่างไร?

 

 

1.Layout ต้องอ่านง่าย ลำดับความสำคัญให้ถูก

 

2

จะเห็นว่าเราได้สรุปวิธีการออกมาเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ  สำหรับเรื่องสไตล์นี้เวลาจัดวาง Layout จึงวางลำดับลงมาเป็นข้อ ๆ เพื่อให้คนอ่านอ่านลงมาทีละข้อ ส่วนของรายละเอียดในแต่ละข้อก็จะแบ่งส่วนกันชัดเจน ไม่ให้คนอ่านสับสนว่าเนื้อหานี้เป็นของข้อไหน

 

3

4

5

 

 

 

 

2. ขนาดตัวอักษร บ่งบอกความสำคัญ

 

ถึงจะเป็นดราฟ แต่ก็ต้องกำหนดขนาดของตัวอักษรให้ชัดเจนด้วย เพื่อจะให้ดูตรงไหนสำคัญ และจะเป็นตัวดึงดูดสายตาคนอ่าน ยิ่งตัวใหญ่สายตาของคนอ่านก็จะเห็นตรงส่วนนั้น ๆ ได้ก่อน ตัวอย่างเช่น เลขและหัวข้อแต่ละข้อ ก็จะสร้างขนาดใหญ่กว่าเนื้อหา ให้เห็นเด่นกว่าส่วนอื่น ๆ รองลงมาจาก Title เรื่อง

 

6

 

 

 


3. ไม่ต้องลงรายละเอียดภาพให้เสียเวลา

 

การทำดราฟจะเป็นเหมือนไกด์ไลน์ให้กับดีไซเนอร์ เราไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดของภาพทุกส่วน เราเพียงแค่วาดออกมาเพื่อให้ดีไซน์เนอร์รู้ว่านี่คือใคร หรืออะไร เช่น สตีฟ จ็อบส์ เราไม่ต้องวาดสตีฟ จ็อบส์จนเหมือนแบบที่คิดไว้ อาจเพียงแค่วาดโครงและเขียนชื่อกำกับไว้ว่าเป็นใคร เพื่อให้ดีไซน์เนอร์เอาไปวาดต่อได้นั่นเอง

 

7

 

 

 

4. กำกับข้อความ อธิบายไอค่อนที่ต้องการ

 

ส่วนใหญ่เวลาทำดราฟ ถ้ามีส่วนของไอค่อนต่าง ๆ เราจะวาดเป็นวงกลม สี่เหลี่ยมแบบในภาพ และเขียนข้อความกำกับไว้ด้านในว่าเราต้องการไอค่อนลักษณะไหนตอนที่ดีไซน์เนอร์นำไปออกแบบต่อ เป็นการลดเวลาในการทำงานได้

 

8

 

 

 

จะเห็นว่าบางทีดราฟ กับดีไซน์ที่ออกมาก็มีความแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่ อย่างที่ได้บอกไปตั้งแต่ต้นว่าดราฟก็คือ แบบร่างขาวดำ มันเป็นเหมือนไกด์ไลน์ให้ดีไซน์เนอร์ทำงานได้ไวขึ้น และคนทำดราฟก็ไม่จำเป็นต้องลงสี และรายละเอียดเยอะเพราะนั่นเป็นส่วนที่ดีไซน์เนอร์จะไปจัดการต่อเอง  เน้นไอเดียการเล่าเรื่อง หรือย่อยข้อมูลที่เข้าใจยากให้ง่ายก็เป็นพอ

ไม่ยากใช่ไหมล่ะครับ การทำ Draft Infographic เราแค่ต้องเข้าใจหน้าที่ของการทำดราฟก่อนว่าต้องทำอะไร แล้วก็มาดูว่าเรื่องที่เราต้องนำมาทำ infographic นั้นควรจัด Layout แบบไหน วางข้อความ รูปภาพไว้ตรงไหนบ้างให้คนอ่านเข้าใจ

 

ไม่มีคำว่ายากเกินไปถ้าคุณยังไม่เคยลองทำ ใครลองทำแล้ว หรือยังมีข้อสงสัยมาพูดกันได้นะครับ

 

สนใจทำ Infographic ติดต่อ Infographic Thailand ได้ที่ http://bit.ly/2nc2Uop
หรือ คุณโรส (099-449-2654)

 

 

 

 

 

 

 

Shared on 31 JUl 2014 in infographic knowledge

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุป 7 อันดับ...

เริ่มต้นปี 2017 กันแล้ว นับเป็นอีกปีที่มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว รว

เล่าเรื่องเเบบไหนให้เหมาะกับ Motion infographic

เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้วสำหรับ Motion Infographic โดยจะสังเกตได้ว่ามี content ม

Parallax Website ทำได้ง่ายใน...

  หนึ่งในเทคนิคสุดฮอต ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตคงจะหนีไม่พ้น Parallax Website