1. ฝึกการพูดต่อหน้าเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว โดยขอให้พวกเขาคอยคอมเม้นให้ว่าตรงไหนพูดดีแล้ว ตรงไหนยังพูดไม่ดี
2. บันทึกเทปหรือวิดีโอการพูดครั้งต่อไปไว้ล่วงหน้า แล้วนำมาฟังหรือดูตัวเองเพื่อจะได้ค้นหาจุดแข็งที่คุณสามารถนำมาใช้ประโยชน์ และจุดอ่อนที่คุณต้องปรับปรุง
3. เรียบเรียงความคิดให้ดี เน้นประเด็นสำคัญให้ชัดเจน แล้วถ่ายทอดด้วยคำพูดที่สั้นและฟังง่าย ไม่ควรยัดเยียดทุกสิ่งที่คุณรู้ลงไป เพราะจากการศึกษาพบว่าผู้ฟังสามารถจำประเด็นสำคัญได้เพียง 1 หรือ 2 ประเด็นเท่านั้น
4. 2 – 3 นาทีแรกบนเวทีมักเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุด ให้กระแอมก่อนขึ้นไปพูด สูดลมหายใจลึกๆเพื่อผ่อนคลายในขณะที่คุณได้รับการแนะนำตัว เมื่อคุณลุกขึ้นยืนเพื่อจะพูด ให้ยิ้มและกล่าวขอบคุณผู้แนะนำแล้วนิ่งรอ อย่าเริ่มพูดจนกว่าผู้ฟังจะพุ่งความสนใจทั้งหมดมาที่คุณ
5. ให้สบตากับผู้ฟังที่หน้าตาเป็นมิตร 3 คน อยู่ด้านหลังห้อง ในขณะที่คุณเหลือบมองจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง สายตาของคุณจะมองกวาดไปทั่วห้อง ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจว่ากำลังมีคนพูดอยู่กับพวกเขาโดยตรง
6. ใช้มือควบคุมความวิตกกังวล การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยและการแสดงท่าทางจะช่วยให้คุณผ่อนคลาย แต่อย่าโบกมือตรงหน้าตัวเอง หลีกเลี่ยงการเกาะแท่นที่ยืนพูดหรือกำมือแน่น
7. ถ้าคุณต้องการเริ่มต้นการพูดด้วยเรื่องตลก ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่คุณจะพูดนั้นน่าขันจริงๆ วิธีสร้างความรู้สึกแปลกแยกกับผู้ฟังได้เร็วที่สุดก็คือการเล่าเรื่องตลกที่ไม่ขำ ถ้าไม่แน่ใจ ให้เริ่มต้นด้วยคำถามที่กระตุ้นความอยากรู้ของผู้ฟังจะดีกว่า
8.ให้ความสนใจกับน้ำเสียง การพูดไม่เต็มคำหรือกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆอาจฟังดูเคร่งเครียดหรือวางอำนาจ ถ้าคุณจบประโยคด้วยเสียงสูงจะฟังดูเหมือนคุณกำลังต้องการความเห็น แต่เมื่อใดลดเสียงต่ำลงจะฟังดูว่าคุณมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น การใส่ใจกับน้ำเสียงจะช่วยให้คุณลืมความกลัวไปได้
สนใจทำ Presentation ติดต่อที่นี่ http://presentationxth.com/
แสดงความคิดเห็น