การผัดวันประกันพรุ่ง ใครๆก็ต้องเคยเป็นกัน แน่นอนมันก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ และก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีมากนัก ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้งานที่คุณทำ กลายเป็นดินพอกหางหมูล่ะก็ มาดูกันว่าอะไรที่ทำให้เราเกิดพฤติกรรมแบบนี้ แล้วเราจะแก้ไขมันได้อย่างไร
มันเกิดขึ้นได้อย่างไร?
การผัดวันประกันพรุ่งนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคล มันเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของสมองที่เรียกว่าส่วนลิมบิก ที่จะควบคุมในส่วนของอารมณ์ คล้ายกับเวลามีตัวตลกโผล่ออกมาจากผนังในบ้านผีสิง คุณจะกระโดดหนีทันทีโดยอัตโนมัติ นั่นก็เหมือนกัน สมองในส่วนลิมบิกจะจัดลำดับความสำคัญของงานในสมองของคุณ มันจะทำให้เรามองข้ามสิ่งที่ไม่ท้าทาย หรือไม่เป็นที่น่าพอใจออกไป หรืออีกทางหนึ่ง สมองของเรามักจะสั่งให้ทำในสิ่งที่เรามีความสุข เช่น ลองเปรียบเทียบระหว่างการนั่งดูซีรี่ส์แบบมาราธอน กับการนั่งทำ Presentation ทั้งวัน ว่าคุณอยากทำสิ่งทำไหนมากกว่ากัน
มันส่งผลกับการทำ Presentation ยังไง?
สำหรับการเขียนเนื้อหา – มนุษย์ได้สร้างอาชีพหนึ่งที่เอาไว้จับผิด อ่านตัวหนังสือซ้ำๆ และเนื้อหาที่ชวนง่วงนอน นั่นอาจจะทำให้คุณไม่มีอารมณ์ที่จะแสดงความเป็นนักเขียนออกมาก็ได้ แล้วยิ่งถ้าคุณกำลังทำงานที่รีบร้อนในนาทีสุดท้ายอยู่ การผัดวันประกันพรุ่งจะทำให้งานของคุณไม่ได้ถูกตรวจสอบให้ดีอย่างถี่ถ้วน มันอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้
สำหรับการออกแบบ – “งานออกแบบที่รีบร้อนคืองานออกแบบที่แย่” และเป็นเหตุผลที่คุณไม่ควรทำมันในนาทีสุดท้าย แบ่งเวลาเผื่อไว้สำหรับการตรวจทาน เพื่อให้คุณได้ตรวจทานงานให้ดีอีกครั้ง ดูว่าภาพมันสอดคล้องกันไหม มันจะดีกว่าให้คนอื่นเจอสิ่งที่คุณทำผิดพลาดไว้ซะเอง
สำหรับการจดจำเพื่อนำเสนอ – การอัดเนื้อหาลงไปเยอะๆ ไม่ได้ทำให้ Presentation ของคุณดึงดูดผู้ชมได้เลย เวลาที่เร่งรีบจะยิ่งทำให้ความจำของคุณสับสน ฉะนั้นเอาเวลามาฝึกซ้อมในสิ่งที่คุณต้องพูดเถอะ
แล้วจะหยุดการผัดวันประกันพรุ่งยังไงล่ะ?
เมื่อสมองต่อต้านการทำงานยากๆ ในเวลานานๆ มันยังมีสิ่งที่ซ้อนอยู่ในสมองส่วนลิมบิค ที่จะทำให้ตารางงานที่ไม่อยากทำเสร็จสิ้น นั่นก็คือ
1. แบ่งกลุ่มของงานเป็นกลุ่มเล็กๆ เป็นวิธีที่จะนำงานมาจัดกลุ่มแบ่งเวลาเป็นช่วงละ 15 นาที จะทำให้คุณมีเวลาพักมากขึ้น และการพัก จะทำให้สมองไม่ปรับไปโหมดที่คอยถามตัวเองว่า “ตอนนี้ฉันไม่อยากทำเลย”
2.ทำงานที่ยากก่อน การกลัวงานไม่เสร็จมันยังติดอยู่ในหัวคุณใช่ไหม? และมันจะทำให้เกิดความเครียดตามมา เราจะต่อสู้กับความกลัวนี้ได้อย่างไร .. สิ่งที่คุณทำได้ดีที่สุดตอนนี้ก็คือต้องเริ่มทำงาน แม้ว่ามันจะเป็นแค่การร่างงานเท่านั้น ให้คุณพิจารณางานที่คุณกลัวออกไป เหมือนสุภาษิตที่ว่า อดเปรี้ยวกินหวาน
3.ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน แชร์เป้าหมายของคุณให้กับใครสักคนอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณผลักตัวเองให้ทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย ถ้า Deadline ใกล้เข้ามาแล้ว ให้คุณลองขอเขาให้ช่วยดูงานที่คุณทำก่อนเริ่มงานก็ได้ สร้างลิมิตให้ตัวเองและให้คนอื่นคอยช่วยผลักดันคุณอีกแรง
แล้วคุณจะรออะไรอีก? งาน Presentation ที่มีคุณภาาพนั้น คุณจะต้องมีเวลามากๆที่จะตรวจสอบ แก้ไข และฝึกซ้อม ปรับแต่งการทำงานของคุณซะใหม่ แล้วเริ่มทำมันตอนนี้เลย!
สนใจทำ Presentation และ Infographic ติดต่อที่นี่ PresentationX
และติดตาม Presentation และ Infographic ดีๆ ได้ที่เพจนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก
blog.slideshare.net
แสดงความคิดเห็น