คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

unnamed

เส้นทางชีวิต “ไร้ที่ยืน” ของชาวโรฮิงญา

Published by Infographic Thailand

info Rohinya-03-03-07

                 ทุกวันนี้ เราจะได้ยินคำว่าโรฮิงญา บ่อยๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวสารในทีวี หรือแม่แต่ในโลกออนไลน์ก็มีการพูดถึงอย่างหนัก บ้างก็แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ ทั้งทางออกของการแก้ปัญหา การช่วยเหลือ หรือแม้แต่การผลักไสไปเสียให้พ้น

ประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงญาก็ถูกพูดถึงในวงกว้างไม่แพ้กัน แต่จะให้อ่านทั้งหมดก็ย๊าวยาว ทางอินโฟกราฟิกไทยแลนด์จึงขอสรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้นะครับ

 

เส้นทางชีวิตโรฮิงญา

พ.ศ. 2369 อังกฤษพาชาวโรฮิงญาจากบังคลาเทศมาช่วยรบกับพม่า และอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่เกือบ100ปี

พ.ศ. 2488 นายพลอองซานเรียกร้องเอกราชให้พม่าได้สำเร็จ

พ.ศ. 2490 ชนกลุ่มน้อยลงนามในสนธิสัญญาอยู่รวมกันในพม่า ยกเว้นชาวโรฮงญาในรัฐยะไข่ เพราะเข้าใจว่าเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่แล้ว

พ.ศ. 2505 นายพลเนวิน ทำเด็จการ ทำให้โรฮิงญาเป็นเพียงผู้อาศัย และกดกันให้โออกจากพม่า

พ.ศ. 2555 ชาวโรฮิงญาอพยพลงเรือ จากเหตุประทะรุนแรงกับชาวพุทธยะไข่

พ.ศ. 2556 ชาวโรฮิงญากว่า 735,000 คน หนีกลับบังคลาเทศแต่บังคลาเทศไม่รับเป็นพลเมือง

ปัจจุบัน ชาวโรฮิงญากว่า 2 ล้านคนในพม่าถูกกดดันให้ออกจากพม่า และออกไม่แล้วก็ไม่ให้กลับเข้ามาในประเทศอีก

 

แต่แล้วเมื่อความหวังจะหนีออกจากพม่า กลับตกเป็นขุมทรัพย์การค้ามนุษย์ ทำให้โรฮิงญาจ้างขบวนการลักลอบเข้าเมือง โดยเสียค่านายหน้า คนละ 177,000 บาท เพื่อพาไปมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศมุสลิมเหมือนกัน

โดยออกเดินทางด้วยเรือ ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามสภาพ

  1. กลุ่มหัวทอง กลุ่มนี้เป้นคนที่มีเงิน มีญาติ อยู่ปลายทางประเทศที่3
  2. กลุ่มร่างกายแข็งแรงแต่ไม่มีเงิน มีนายหน้าจากประเทศที่3 มารับไปขายต่อเป็นแรงงานทาสในธุรกิจเกษตรและประมง
  3. กลุ่มอ่อนแอ เด็ก ผู้หญิง คนป่วย ไม่มีเงิน ไม่มีญาติ ถูกทอดทิ้งให้อดตาย

 

เมื่อตำรวจจับ นายหน้าก็ทิ้งของกลางเป็นเรือมนุษย์ ให้ลอยลำอยู่กลางทะเลอย่างไรจุดหมาย แล้วเขาเหล่านั้นจะทำเช่นไรต่อไป แล้วจะเดินทางต่อไปอยู่ที่ไหน?

 

เหตุผลที่ชาวโรฮิงญายังไม่มีที่อยู่

  1. ชาวโรฮิงญามีเกือน 2 ล้านคนนับเป้นผู้ลี้ภัย หากรับเลี้ยงดูก็จะต้องเลี้ยงดูเขาต่อไปตลอดชีวิต
  2. UNHCR ไม่กล้าสนับสนุนเงินทุน เพราะหากตั้งค่ายผู้ลี้ภัยก็จะเป็นค่ายถาวร ไม่รู้ว่าจะได้ส่งกลับต้นทางได้หรือไม่
  3. ไม่มีประเทศไหนกล้ารับดูแล หากดูแลดี ยังมีชาวโรฮิงญาอีกกว่าล้านคนก็พร้อมจะเดินมาอยู่ด้วย

 

                   การค้นพบศพชาวโรฮิงญาเป็นความสำเร็จท่ามกลางความพ่ายแพ้ของพวกเราทุกคนในการต่อสู้กับขบวนการค้ามนุษย์ที่ฉกฉวยโอกาส และการให้ความช่วยเหลือเขาเหล่านั้นก็ยังเป็นประเด็นที่ตกถกเถียงกันต่อไป ทั้งในความเห็นใจฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน กับความพร้อมทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจของไทย แล้วคุณล่ะ คิดเห็นอย่างไรบ้าง แชร์ให้เราฟังได้ครับ

Shared on 31 JUl 2014 in Environment

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชอบเที่ยวก็ “รวย” ได้...

                เดี๋ยวนี้เห็นคนไปเที่ยวเยอะแยะ หลายคนหลังจากกลับมาจากเที่ยวแล้ว ก็ม

ส่งกำลังใจฟรีๆให้ ทหาร 3...

ส่งความห่วงใย ใส่กล่อง ให้ถึงมือทหารไทยชายแดนใต้            จากก

วิธีจัดบ้านแบบ Konmari ตอน...

                     เป็นยังไงกันบ

unnamed