คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

Poster - 3

เบื้องหลังการทำ Motion Infographic เรื่องการเงินที่ยากให้เป็นเรื่องง่าย

Published by Infographic Thailand

Print

 

 

สวัสดีค่าาาา  ….  ขอแนะนำตัวก่อนเลย กุ้งนะคะ หรือ เจ๊กุ้ง  ขุ่นเเม่ใหญ่ เเห่ง Creative Infographic Thailand  ค่าา ฮู่วววเร่ห์ ! 


ก็ไม่มีอะไรมากกก  เนื่องด้วย Infographic Thailand เป็นเพจที่โด่งดังเป็นเวลามา 4 ปีกว่าแล้ว มีแฟนคลับกันมาก็พอสมควร  อยากตอบแทนแฟนๆ ด้วยการแชร์เบื้องหลังการทำงานให้ฟัง
เผื่อใครอยากที่จะเป็น Creative บ้าง หรือ นำไปประยุกต์ใช้กับงานของตัวเอง ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ เป็นโอกาสอันดีงามมาก เพราะทางเราไม่ค่อยนำเบื้องหลังการทำงานลูกค้ามาเปิดเผยให้สาธารณะชนเห็นซักเท่าไหร่

เอาล่ะ ! วันนี้ฤกษ์งามยามดี ก็ขอเริ่มด้วย เบื้องหลังกระบวนการคิด วิเคราะห์  คิด script (บทพูด) ของ Motion infographic ในเรื่องของการเงิน
ซึ่ง เรื่องการเงิน จะค่อนข้างขึ้นชื่อ ว่าเป็นหัวข้อที่ยากที่สุด ในการเอามาย่อยข้อมูล ด้วยเนื้อหาที่เยอะ และ เข้าใจยาก วันนี้ เราจะมาวิเคราะห์ คิด เจียระไน ไปพร้อมๆ กันเลยค่า

 

gif-set-2


กดคลิกดูกันเร๊ย 

 

ในวันนี้เราจะยกเอา Motion infographic เกี่ยวกับการเงินของ SET หรือ ตลาดหลักทรัพย์ มาถอดเครื่องการทำแบบ Stept by Step กัน
ของเกริ่นก่อนเลย  วินาทีแรกที่ Infographic Thailand ได้รับโจทย์จากตลาดหลักทรัพย์ (องค์กร  SET) ให้คิดไอเดียนำเสนอที่เหมาะกับการประชาสัมพันธ์เป็นแคมเปญวางแผนเกษียณ ให้คนไทยได้ความรู้และลงมือทำได้จริง… งานนี้  เราก็ตั้งธงไว้อย่างแน่วแน่เลยว่า จะต้องคิดไอเดียนำเสนอที่ง่าย และทำได้จริงสำหรับคนไทยทุกคน อย่างน้อยๆก็ช่วยเปลี่ยนมุมมองความคิดเรื่องการวางแผนเกษียณของคนไทยว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ  อย่าให้เสียหน้าในฐานะที่เราก็มีเพจให้ความรู้ด้านการเงินอย่าง Aommoney

โดยผลงานชิ้นนี้ถูกกำหนดไว้ว่า จะเผยแพร่บนโซเชียลมีเดียที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคอย่าง Fackbook แน่นอนว่า Main Idea (Main Idea คือ ใจความหลักของสิ่งที่เราจะนำเสนอ) ของแคมเปญ PVD & Employee’s choice  (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและแผนการลงทุน) ต้องเป็นอะไรที่สร้าง Call to Action (Call to Action ก็คือ การกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการลงมือปฏิบัติกับตัวโปรดักส์ในทางใดทางหนึ่งตามที่เราต้องการ) ได้ในวงกว้าง

ความรู้สึกส่วนตัวในฐานะที่เป็นครีเอทีฟผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ บอกเลยว่า เป็นโปรเจกต์ที่เราคาดหวังสูงมาก อยากให้ผลงานของเราออกมาแล้วเกิดประโยชน์กับมนุษย์ทุกคน และคงเป็นเพราะตัวเราเองก็มีความสนใจเรื่อง PVD & Employee’s choice และพอมีความรู้บ้างคร่าวๆ อยู่แล้ว ทำให้การหา Insight ( Insight คือ ความเข้าใจในผู้บริโภค หรือ กลุ่มเป้าหมายแบบสุดซึ้ง ) จึงไม่ยากเลย จะยากก็ตรงที่ว่า จะทำให้ยังไงให้เรื่องนี้จับต้องได้ เกิดการลงมือปฏิบัติได้จริงๆ

 

edit 1

 

 

การทำความเข้าใจ ก็ต้องเขียนไอเดีย รกๆ กันแบบนี้เนี่ยเเหล่ะ 

ครุนคิดอยู่ราวๆ 2 วัน ก็เคาะได้ว่า เราก็ทำให้ Main Idea นี้เป็นเหมือนการหันมาปฏิวัติตัวเองซะซิ! โดยการแสดงความตั้งใจว่าเราไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีการสะสมความมั่งคั่งอีกแล้ว เราอยากจะทำให้ช่วงเวลาที่เรายังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่นี้มีค่า เป็นช่วงเวลาที่สะสมกำลังการเงินให้แข็งแรง โดยใช้วันเวลาทำให้เงินที่สะสมไว้งอกเงย  ซึ่งสิ่งที่จะทำให้เราหลุดพ้นจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนที่เกษียณไปแล้วลำบากก็คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และแผนลงทุน นั่นเอง

…เพราะแบบนี้จึงเกิดที่มาของชื่อแคมเปญว่า “ปฏิบัติการให้เงินทำงานแทนเรา ทราบแล้ว(ต้อง)เปลี่ยน” พอเคาะ Main Idea ได้อย่างนี้แล้ว ทีนี้รูปแบบชิ้นงานก็พรั่งพรูออกมาเลย  สามารถต่อยอดโจทย์ได้หลายอย่างมาก จากที่ลูกค้าตั้งเป้าว่าจะทำโบร์ชัวร์  เราก็สามารถเสนอเพิ่มให้กลายเป็น  Motion Infographic ได้อีกด้วย

 

Screen Shot 2560-04-25 at 4.39.00 PM

 

ภาพตัวอย่างการคิด Direction 

สำหรับการทำแผ่นพับให้ความรู้นั้น ส่วนตัวมองว่าขั้นตอนที่ยากที่สุดคือการวาง Layout (Layout คือการจัดวางหน้ากระดาษ) ให้น่าสนใจ ส่วนสิ่งที่ง่ายและชอบมากที่สุดคือ คิด copy ให้เป็นภาษาที่ง่ายและเป็นกันเอง แต่ในขั้นตอนนี้จะสมบูรณ์ไปไม่ได้เลย หากขาดฝ่ายกราฟฟิคดีไซน์เนอร์เข้ามาช่วยดีไซน์ Layout  ให้อ่านง่าย ดูสวยงาม รายละเอียดและข้อมูลต่างๆบนแผ่นพับที่เราอยากนำเสนอจะได้ไม่สะเปะสะปะ รวมถึงการคุม Mood&Tone สีของชิ้นงานไปในทิศทางเดียวกันด้วย

 

edit 2

 

(ภาพแผ่นพับดีไซน์แล้ว)

และในส่วนของรูปแบบ  Motion ก็มีความท้าทายรออยู่เช่นกัน นั่นคือ การแปลงร่างข้อมูลดิบที่ลูกค้าให้มา นำมาใส่ไอเดีย ให้กลายเป็นข้อมูลที่ใครๆนำไปปฏิบัติได้จริง ดังเช่นไอเดียที่เราคิดไว้ตั้งแต่ทีแรก นั่นคือ “ปฏิบัติการให้เงินทำงานแทนเรา ทราบแล้ว(ต้อง)เปลี่ยน”

แต่ความท้าทายที่ว่านั้นก็ไม่ได้ยากเกินเอื้อม หากเราจับ  Insight ผู้บริโภคได้ถูกต้อง ซึ่ง Insight ที่เราตกตะกอนได้ก็คือ ยังมีคนไทยบางส่วนที่ไม่เกรงกลัวกับการไม่มีเงินใช้ยามเกษียณ แถมยังคิดกันง่ายๆอีกว่า พอแก่ตัวไปก็คงไม่ได้ใช้จ่ายอะไรมาก เพราะคงไม่มีแรงจะไปไหน หรือทำอะไร ทั้งที่จริงแล้ว ยิ่งอายุของเราเดินหน้าเข้าสู่วัยเกษียณมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งน่ากลัวเท่านั้น เพราะไม่ใช่แค่ไม่มีแรงหาเงินเพิ่มเท่านั้น แต่ยังต้องเผชิญกับโรคภัยหรืออาการเจ็บป่วยตามกาลเวลาอีกด้วย…เป็นไงล่ะ การเข้าใจ Insight ที่ช่างล้ำลึก

พอได้ Insight  แล้วก็เริ่มเขียนสคริปหรือบทพูดใน Motion Infographic  หลักการเขียนสคริปโมชั่นแบบคร่าวๆก็คือ ต้องมีโครงเรื่องเป็นแบบ “ต้น-กลาง-จบ” ที่ชัดเจน โดยโครงเรื่องที่เราแบ่งเฟสไว้ ก็มาใส่รายละเอียดคอนเท้นท์ว่าเราจะเล่าอะไรในเฟสไหน เช่น  เฟสต้น เกริ่นด้วย  Insight คนทั่วไป อาจจั่วด้วยประเด็นที่พวกเขาเผชิญกันอยู่แล้ว ในเคสนี้ เราเปิดเรื่องด้วย  Insight ที่ว่า “แก่ตัวไปใครๆก็อยากสบาย” เพราะมองว่า มันคือความฝันที่หลายๆคนคาดหวังไว้อยู่แล้ว  แล้วค่อยจูงใจด้วยประเด็นที่ว่า ถ้าอยากให้ความคาดหวังเป็นจริง ก็ควรต้องวางแผนเกษียณ

(ภาพโครงร่างการเล่าเรื่อง motion -ตัวอย่างสคริป)

for set

 

จากนั้นช่วงเฟสกลาง ก็ Hook (Hook คือจุดดึงความใจให้เข้าสู่ประเด็นหลัก) ด้วยประเด็นของพฤติกรรมการเงินของคนส่วนใหญ่ ที่ว่า “น่าตกใจที่ยังมีหลายคนวางแผนเกษียณแบบผิดๆ” เพื่อเปิดประเด็นให้เข้าสู่เนื้อหาสำคัญ โดยเนื้อหาในช่วงนี้ จะเล่าด้วยสถิติสลับกับการแนะนำข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง และสรุปปิดท้ายด้วยการตอกย้ำ main idea อีกที เพื่อให้คนดูตอบตัวเองได้ว่า พอเขาดูโมชั่นตัวนี้จบแล้วสรุปต้องทำอะไร  

ในกระบวนการหลังจากเขียนสคริปจบแล้ว เราก็จะส่งต่อให้กับทีม Story Board เพื่อช่วยปรับ Visualize (การนำข้อมูลตัวอักษรมาแปลงเป็นภาพที่เข้าใจง่าย) และ Transition (การสลับฉาก) ของเนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างลื่นไหล ขั้นตอนนี้ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร เพราะต้องกำหนดรายละเอียดการขยับของภาพ ไม่ว่าจะเป็น Object ในฉาก หรือคาแรคเตอร์คน เพื่อส่งชิ้นงานต่อให้ทีม Animate (การตัดต่อและการขยับภาพ) ได้ทำงานง่ายขึ้น โดยทีม Animate จะนำ Story Board วาดมือที่สมบูรณ์แล้ว ไปลงสีให้สวยงามในโปรแกรมกราฟฟิค เพื่อให้พร้อมเอาไปขยับและเรียงฉากให้เป็นเรื่องราว

 

Screen Shot 2560-04-25 at 3.40.23 PM

 

บอร์ดมือ หรือ hand board ประกอบร่างกับสคริปต์ ช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาในสคริปต์มากขึ้น

 

Set PVD Board-01

 

บอร์ด ai (บอร์ดที่ถูกวาดภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator แล้ว พร้อมทำเป็นภาพเคลื่อนไหว)

 

Capture02144

 

นำไปทำให้ เคลื่อนไหว ในโปรแกรม Adobe After Effects  โดย Motion graphic ดีไซเนอร์

 

IMG_6653

 

เมื่อได้ชิ้นงานที่อะนิเมดเสร็จแล้ว ลูกค้า Approved แล้ว มีการเผยแพร่ชิ้นงานแล้ว ทีนี้เราก็ต้องมาตุ้มๆต่อมๆ กับกระแสบน Facebook บอกเลยว่างานนี้ลุ้นมากกว่ากระแสจะออกมาดีอย่างที่เราตั้งใจไว้ตอนแรกมั้ย แอบไปส่องเฟสของตลาดหลักทรัพย์ทุกวัน แล้วก็นะ ผลลัพธ์คือลูกค้าโอเคมากกับชิ้นงาน แถมยังรวมผลงานที่เราทำไปไว้ในเว็บไซต์  https://www.set.or.th/pvd/about.html ไว้เป็นความรู้ให้คนดูก็ได้อะไรกลับไปถามตัวเองว่า เอ๊ะ แล้วตัวเราล่ะ เกษียณไปสบายหรือลำบากกันละเนี่ย ไม่ก็อย่างน้อยๆ ต้องกลัวแก่ตัวไปแล้วลำบากกันบ้างล่ะ  

 

set 2

จากการตั้งใจคิดและทำโปรเจกต์นี้จนออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ขนาดนี้ ทำให้เราเรียนรู้ได้ว่า การทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยเปลี่ยนมุมมองความคิดคน ให้มีพฤติกรรมบางอย่างให้ดีขึ้นเนี่ย เราควรจะทำมันขึ้นมาจาก “ความอิน” ของเราจริงๆ และความอินเนี่ยแหละ ที่จะสะท้อนถึงความเข้าใจในเนื้องานนั้นๆได้เป็นอย่างดี พอเราอินแล้ว ทำมันออกมาดีแล้ว เชื่อว่า พอผลงานเผยแพร่ออกไปแล้ว คนดูก็จะจับความรู้สึกที่เราถ่ายทอดออกไปได้อย่างตรงประเด็น  

(Link: https://www.facebook.com/pg/aommoneyth/videos/?ref=page_internal)

 

Screen Shot 2560-04-25 at 4.30.19 PM

 

แต่ก็อย่างที่บอก “ความอินในโจทย์ที่ได้รับ” จะเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การมองคอนเท้นท์ของเราด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะฝึกฝนอย่างตั้งใจต่อไป :D

จากใจ

-ครีเอทีฟตัวเล็กๆใน Infographic Thailand (เจ๊กุ้ง)                                         
– งานทุกงานได้รับการอนุญาติให้เผยแพร่ได้จากทาง Set เรียบร้อยแล้วค่า 

Print

Shared on 31 JUl 2014 in Content marketing infographic knowledge

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบื้องหลังการทำ Motion Infographic...

  สวัสดีค่าาาา  ….  ขอแนะนำตัวก่อนเลย กุ้งนะคะ หรือ เจ๊กุ้ง  ขุ่นเเม่ใหญ่ เเห่ง

เปลี่ยนการนำเสนอหรือการขายของแบบเดิม ๆ สู่...

หมดยุคไปแล้วสำหรับการขายของแบบตรงๆ ที่ดูสร้างความน่ารำคาญ น่าเบื่อ และไม่สนุกเอาเสียเลย อ

เพิ่มลูกค้าเข้าถึงแบรนด์คุณด้วย Mobile Application

ใช้ Application เพิ่มลูกค้าที่เข้าถึงแบรนด์ของคุณ ด้วย “SHOPPENING” Mobile App Creator  

Tags

Poster - 3