การออกแบบ Presentation ที่ดี อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป เนื่องจากศิลปะของการออกแบบ Presentation นั้น ต้องใช้ทั้ง สี ตัวหนังสือ รูปภาพ สัญลักษณ์ และพื้นหลัง โดยทำให้สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กัน เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ แต่! ทุกคนอย่าเพิ่งคิดว่าจะยากเกินความสามารถ เพราะวันนี้เรามีเคล็ดลับ “Less is more” ที่จะช่วยให้คุณออกแบบ Presentation ออกมาได้ดีที่สุด
การใช้ภาพพื้นหลัง (Background Image)
หลีกเลี่ยง : การใช้พื้นหลังสีทึบหลายๆสี และพื้นหลังที่มีลวดลาย เพราะเมื่อใส่ตัวหนังสือลงไป จะทำให้อ่านยาก และยิ่งทำให้ผู้ชมไม่สนใจในสิ่งที่คุณนำเสนออยู่เลย
ควรทำ : วิธีแก้คือหากจำเป็นต้องใช้พื้นหลังที่มีลวดลาย ควรเลือกพื้นหลังที่มีสีอ่อนๆ เพราะจะช่วยทำให้ตัวหนังสืออ่านง่ายขึ้น หรือถ้าจำเป็นจะต้องใช้พื้นหลังที่มีสีทึบจริงๆ ก็อาจจะวาดกรอบสี่เหลี่ยมครอบตัวหนังสือไว้ เพื่อแยกตัวหนังสือกับพื้นหลังให้อ่านได้ง่ายมากขึ้น
การจัดวางตัวหนังสือ (Text Alignment)
หลีกเลี่ยง : การวางพื้นหลังและตัวหนังสือไว้ตรงกลางแล้วพื้นหลังเป็นภาพเยอะๆจะยิ่งทำให้ตัวหนังสืออ่านยากขึ้น และเกิดความสับสนได้ง่าย
ควรทำ : แทนที่จะจัดวางตัวหนังสือไว้ตรงกลาง คุณอาจจะลองจัดไว้ด้านใดด้านหนึ่งไม่ซ้ายก็ขวา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างพื้นหลังและตัวหนังสือ
การเลือกขนาดตัวหนังสือ (Font Size)
หลีกเลี่ยง : การใช้ตัวหนังสือขนาดเดียวกันทั้งหมด เพราะจะทำให้ผู้ชมไม่รู้ว่าจุดไหนที่คุณต้องการจะนำเสนอ
ควรทำ : ถ้า Slide ของคุณจำเป็นที่จะต้องมีตัวหนังสือเยอะๆ ให้เพิ่มขนาดตัวหนังสือที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุดให้ดูเด่นขึ้นมา จะทำให้ผู้ชมเข้าใจสิ่งที่จะนำเสนอมากขึ้น
การใช้แสงเงา (Shadowing)
หลีกเลี่ยง : ใส่ Drop Shadow ให้กับตัวหนังสือ เพราะยิ่งเป็นตัวหนังสือที่บางและเป็นสีทึบๆ ยิ่งจะทำให้ตัวหนังสือนั้นยิ่งดูเบลอ และดูไม่น่าอ่าน
ควรทำ : ถ้าคุณจำเป็นที่จะต้องใช้ Drop Shadow จริงๆ ให้ใช้มันกับหัวข้อเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับตัวเนื้อหา หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ใช้พื้นหลังสีเข้ม เพื่อตัดกับตัวหนังสือสีอ่อน เช่น สีขาว ก็จะทำให้ตัวหนังสือเด่นขึ้นมาได้โดยไม่ต้องใช้ Drop Shadow
การเลือกรูปภาพ (Photo & Image)
หลีกเลี่ยง : ภาพที่มีความละเอียดต่ำจะยิ่งทำให้ Presentation ที่เราทำดูไม่เรียบร้อย และดูขาดความใส่ใจ
ควรทำ : ควรใช้ภาพที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 1000 Pixels ในการทำ Presentation ซึ่งเราอาจจะหาภาพเหล่านี้ได้ฟรีๆ จากเว็บ deviantart.com หรือ sxc.hu หรือภาพแบบที่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บ istockphoto.com หรือ flickr.com
การเลือกรูปแบบตัวอักษร (Typeface)
หลีกเลี่ยง : ถ้าคุณใช้ Font ที่ดูประหลาด หรือมีลวดลายเกินไปเพื่อต้องการให้ Presentation ดูสนุกนั่นเป็นสิ่งที่คุณคิดผิด เพราะมันยิ่งทำให้ Presentation ของคุณอ่านยากและหมดสนุกไปเลย
ควรทำ : เวลาที่คุณจะเลือกใช้ Font ให้คุณเลือกตัวหนังสือที่มีความหนักเบาไม่เท่ากัน เช่นเวลาเลือกตัวหนังสือ ก็ควรเลือกแบบที่มีทั้ง ตัวหนา ตัวบาง และแบบปกติ เพื่อให้ Presentation เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การออกแบบ Presentation ที่ดีควรจะประกอบไปด้วย 3 Keyword นั่นก็คือ อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน และเพลิดเพลิน ลองนำเอาเทคนิคที่เรานำมาฝาก ไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบ Presentation ของคุณ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้คุณสามารถออกแบบ Presentation ได้อย่างสวยงามและยอดเยี่ยมที่สุด
สนใจทำ Presentation และ Infographic ติดต่อที่นี่ PresentationX
และติดตาม Presentation และ Infographic ดีๆ ได้ที่เพจนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.blog.slideshare.net
แสดงความคิดเห็น