คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

unnamed

พรบ.คุ้มครองสัตว์ ฉบับเข้าใจง่าย

Published by Infographic Thailand

infoth_animal-01

                 งานนี้สัตว์สี่ขาทั้งหลายไม่ต้องกลัวมนุษย์สองขาอย่างเราๆอีกแล้ว เมื่อมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากมีการผลักดันมาอย่างยาวนานโดยเหล่าทูนหัวของบ่าว และทาสของสัตว์หน้าขนอีกหลากหลายชนิด(แต่สำหรับทาสนมคงไม่ได้หมายถึงวัวแน่นอน อะจึ๋ยยยย!) เรียกได้ว่าจากเคยโดนคนฟ้องจนหมดตัว คราวนี้อาจโดนสัตว์ฟ้องจนต้องซื้ออาหารเม็ดมาให้มันกินแทนก็ได้นะเออ มาดูกันดีกว่าว่ากฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดอย่างไรบ้างและจะศักดิ์สิทธิ์เพียงพอที่จะปกป้องชีวิตของสัตว์โลกแสนน่ารักเหล่านี้ไว้ได้มากน้อยขนาดไหน

                โดยเนื้อหาหลักของกฎหมายฉบับนี้มีใจความสำคัญคือ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ยกเว้นแต่สัตว์ที่เลี้ยงเอาไว้เพื่อเป็นอาหาร ตามพิธีกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ การตัดหู หาง ขน เขาหรืองา โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์หรือการดำรงชีวิตของสัตว์ หรือที่กฎหมายกำหนดให้สามารถทำได้เป็นการเฉพาะ เป็นต้น โดยหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คราวนี้หยอดน้ำข้าวต้มอย่างเดียวคงไม่ไหว คงต้องหยอดกระปุกออมสินเพิ่มอีก รู้อย่างนี้ใครจะทำได้ลงคอ

                สำหรับสัตว์เลี้ยงตามบ้าน กฎหมายฉบับนี้ก็ได้คุ้มครองเช่นเดียวกัน  โดยกำหนดให้เจ้าของต้องเลี้ยงดูให้เหมาะสม ห้ามปล่อยปละละเลยหรือทิ้งไปโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเด็ดขาด ถือได้ว่าเป็นการลดปัญหาสัตว์จรจัดรวมถึงการให้บุคคลที่มีหรือคิดจะมีสัตว์เลี้ยง มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสัตว์ที่รับเลี้ยงมาได้เป็นอย่างดี งานนี้ข้าทาสทั้งหลายคงต้องดูแลให้ดีๆหน่อยแล้ว เพราะหากไม่ทำตาม อาจเสียสี่หมื่นบาทฟรีๆได้เลยทีเดียวเชียว

               อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายจะออกมาแล้วแต่ก็คงไม่มีผล หากไม่มีการร่วมมือจากทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง คงไม่ต้องบอกว่า วิธีไม่ทำร้ายสัตว์มีอะไรบ้าง เพราะเราต่างก็รู้อยู่แก่ใจ ในเมื่อยังอยู่ในช่วงขึ้นปีใหม่อย่างนี้ ทำไมคุณไม่เริ่มต้นสิ่งดีๆให้กับชีวิตด้วยการหยุดทำร้ายสัตว์ล่ะครับ

“หยุดทำร้ายสัตว์ = หยุดทำร้ายตัวเอง”

 

Shared on 31 JUl 2014 in Law

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหตุผลที่ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี...

                 เนื่องจากในปีค.ศ.2000 สหรัฐฯได้ออกกฎหมาย The Children’s Online Privacy

unnamed