คุณสามารถรับ Infographic ดีๆ ฟรี ส่งตรงถึง อีเมลคุณ

อย่าเอาฝันร้ายมาฉายซ้ำ ตอกย้ำ “โรคสะเทือนใจ”

Published by Infographic Thailand

ผ่านไปแล้วไม่ได้แปลว่าโอเค การที่ให้ “ทีมหมูป่า อะคาเดมี” ลองเข้าไปสัมผัสถ้ำหลวงจำลอง

ไม่ใช่แค่การฉายภาพเหตุการณ์สะเทือนใจซ้ำ!! แต่มันคือการตอกย้ำความรู้สึกสะเทือนขวัญ ก่อให้เกิด ” โรค PTSD ”

หากสังคมขาดความรู้ ความเข้าใจ และ มีความเชื่อแบบผิด ๆ มันจะส่งผลลัพธ์ต่อชีวิตตามมาภายหลังอีกมากมาย

วันนี้เราจึงอยากบอกวิธีที่ทุกคนสามารถหยุดการกระทำเหล่านี้ได้

 

PTSD-01

 

PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder คือ ภาวะเครียดที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

เช่น รถชน ดินโคลนถล่ม จราจล ถูกข่มขืน หรือ คนใกล้ชิดเสียชีวิต ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกี่ยวกับความจำ

การตื่นตระหนกตกใจ หรือกระบวนความคิด

ภาวะเครียด แบ่งเป็น 2 ระยะ
ในระยะแรก ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์มาได้แน่นอนว่าจะต้องรู้สึกเสียขวัญ แต่ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามเดิมได้

โดยมีเหตุการณ์นั้นเป็นเพียงความทรงจำหนึ่ง

แต่บางคนอาจเข้าสู่ระยะที่ 2 นั่นคือ PTSD ซึ่งผลกระทบจะหนักกว่า ทำให้มีบาดแผลทางจิตใจไปตลอดชีวิต
แม้ว่า PTSD ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่หากเกิดขึ้นแล้ว นั่นเป็นจุดเปลี่ยนในการใช้ชีวิตที่อาจแย่กว่าเหตุการณ์ที่เจอมาด้วยซ้ำ

ความผิดปกติทางอารมณ์ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทั้งคนรอบตัวและตัวผู้ป่วยเองอาจจะคิดว่าเป็นแค่ความเครียด

จึงไม่เข้าใจอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าไม่รู้วิธีจัดการที่เหมาะสม อาการจะสาหัสขึ้นได้ สังคมจึงควรเข้าใจอาการของโรคนี้

เพื่อที่จะปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม โดยคนที่สู่ระยะ PTSD จะมีอาการเหล่านี้

 

PTSD-02

 

ผู้ที่ประสบภัยรุนแรงทางชีวิตเช่น แผ่นดินไหว ถูกข่มขืน จะยังรู้สึกว่าเหตุการณ์เหล่านั้นยังตามหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา

เหมือน Flash back เล่นวนอยู่ในหัว ยังรู้สึกสะเทือนใจหรือหวาดกลัวทุกครั้งที่มีอะไรกระตุ้น ให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ

หรืออาจเก็บไปฝันร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น คนที่เคยรถคว่ำอาจรู้สึกเหมือนมีแรงกระแทกราวกับอยู่ในเหตุการณ์รถชนอีกครั้ง

 

PTSD-03

 

เมื่อผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญมาแล้ว จะพยายามหลีกเลี่ยงที่จะนึกถึงหรือพูดถึงเหตุการณ์นั้นอีก

ไม่เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถาณการณ์ที่คล้ายกับสิ่งที่เจอมา เช่น คนที่ติดถ้ำมา ก็ไม่กล้าที่จะเข้าใกล้ถ้ำอีก

หลีกเลี่ยงที่จะอยู่ในที่แคบ รู้สึกกระวนกระวายเมื่อต้องเข้าลิฟท์

 

PTSD-04

 

แม้ว่าจะผ่านเหตุการณ์อันตรายไปแล้ว แต่ร่างกายยังไม่หายกระวนกระวายซักที ตกใจง่าย ไม่มีสมาธิ ใจสั่น

หวาดระแวงทุกอย่างรอบตัว แค่เจอเรื่องธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวันก็ทำให้เครียดได้แล้ว เช่น

คนที่ผ่านเหตุการณ์ระเบิดมา แค่ได้ยินเสียงของหล่นก็สะดุ้งตื่นกลัว หัวใจเต้นแรง หรือ ความดันขึ้นได้เลย

บางคนถึงกับนอนหลับยาก คลื่นไส้ เป็นต้น

 

PTSD-05

 

ผู้ที่รอดตายจากเหตุการณ์ต่างๆ จะมีความคิดความรู้สึกที่เปลี่ยนไปกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆ

มองสถาณการณ์ในด้านลบ อาจโทษตัวเอง สังคม หรือสิ่งรอบตัวที่เกี่ยวพันกับสิ่งที่เจอมา บางคนอาจถึงกับหดหู่

เฉยฉาต่อสิ่งรอบตัว และมีความสุขยากขึ้น เช่น คนที่ถูกทำร้ายตอนเด็กๆ อาจรู้สึกเฉยชาต่อภาพความรุนแรง

มีมุมมองต่อภาพครอบครัวที่เปลี่ยนไป หรือหวาดระแวงที่จะมีความสัมพันธ์

 

PTSD-06

 

ทุกสิ่งและทุกคนรอบตัวล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องในการเยียวยาผู้ป่วย PTSD
เราจึงควรเข้าใจว่าการ Let Go และการ Focus ส่งผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างไ

 

PTSD-07

 

เดิมที เมื่อมีเหตุการณ์สะเทือนขวัญ บางคนอาจมีความเชื่อว่าควรให้ผู้ประสบภัยมาเล่าเหตุการณ์ หรือ ซักถามความรู้สึกให้ฟัง แต่การ Debriefing มีผลที่ตามมาที่อาจคาดไม่ถึงได้

 

PTSD-08

 

จริงๆแล้ว การ debriefing เป็นการกระตุ้นความรู้สึกเดิมๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการของ PTSD ได้

(เช่น Re-experience หรือ Hyper-arousal)
เพราะฉะนั้น Debriefing ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่คิด เราไม่ควรให้พวกเขากลับไป Focus อีก

เว้นแต่ว่าผู้ประสบภัยอยากจะระบายออกมาเอง

 

PTSD-09

 

ใจความสำคัญของภาวะ PTSD คือการไม่สามารถลบล้างเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้นได้
ฉะนั้นสังคมควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการก้าวข้ามภาพจำที่เลวร้ายไป

 

PTSD-10

 

เพราะฉะนั้น เมื่อเจอคนที่ผ่านเหตุการณ์เราไม่ควรกระตุ้นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูจิตใจ เช่น ล้อเลียน ถามคำถามในแง่ลบอย่าง

“มันน่ากลัวแค่ไหน” ชวนให้เล่ารายละเอียดซ้ำไปซ้ำมา ถ้าต้องมีการพูดคุย ให้พยายามสอดแทรกความคิดในเชิงบวก

หรือเรื่องที่ผ่อนคลายขึ้น เพื่อไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟู

 

PTSD-11

 

ทางออกที่ดีที่สุดในการเยียวยาจิตใจ คือหยุดตอกย้ำภาพเหตุการณ์สะเทือนใจและไตร่ตรองถึงผลลัพธ์ที่อาจตามมา

 

PTSD-13

 

————————————

Infographic Thailand รับผลิต Infographic / Motion graphic / Presentation /

อบรม Infographic และ ผลิต Infographic ด้วยเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น AR VR 360 กรอกรายละเอียดบอกเราได้ที่

http://bit.ly/mindtoPTSD

Shared on 31 JUl 2014 in Education Health

ส่งต่อความรู้ดีๆ

LINE it!

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปลี่ยนการทำงานให้เป็นเรื่องง่ายเพียงแค่ กินกบตัวนั้นซะ

เคยเจอกับปัญหาแบบนี้ไหม ?? นั่งทำงานทั้งวัน ทำงานแทบจะตลอดเวลา แต่ไม่ว่

วิธีจับพิรุธ "พินัยกรรมปลอม" ตรวจสอบและรับโทษอย่างไรบ้าง

  เเอดขอเดาว่า ! เป็นพนัยกรรมปลอมเเน่นอนนน ! วันนี้เราจ

“ความเหงา ไม่ใหญ่เท่าอวกาศ” 4...

“ความเหงา” ส่งเราไปเที่ยวไกลกว่า Elon musk พาคนไปดวงจันทร์ ถ้าเ