อย่าโต้แย้ง หรือ โต้เถียง โดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆก็ตาม
- ถ้าไม่มีหน้าที่ อย่าไปพิสูจน์ว่าผู้อื่นผิด
- หลังการโต้เถียงต่างฝ่ายต่างเชื่อมั่นว่าตนถูก มากกว่าเดิม และจะรู้สึกเสียหน้าถ้าต้องเปลี่ยนความคิดเห็น
- คนโดยทั่วไปจะไม่เปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องใดๆ ถ้าเขาต้องเชื่อเพราะถูกบังคับให้เชื่อในเรื่องที่เขาไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่แรก
- การโต้แย้ง เปลี่ยนใจมนุษย์ไม่ได้
- มิตรภาพ/ความรู้สึกที่ดี จะไม่มีวันเกิดขึ้นหลังการโต้เถียง
เคารพความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้าม อย่าบอกว่าเค้าผิด
- ถ้าต้องการจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากเขา อย่าบอกให้เขารู้ตัวล่วงหน้า เช่น
- อย่าพูด ” ผมจะพิสูจน์ให้คุณเห็นว่า สิ่งที่คุณพูดไม่ได้เรื่องหรือผิด” ควรพูด” เรื่องนี้ผมคิดอย่างนี้ ซึ่งอาจจะผิดก็ได้
- นักวิทยาศาสตร์ จะไม่พยายามพิสูจน์สิ่งใดๆ เพียงแต่หาข้อเท็จจริงมา เผยแพร่เท่านั้น
- ไม่มีมนุษย์คนใดชอบฟังความจริง ที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาด หรือ ความล้มเหลวของเขา
ถ้าทำผิด ให้รับผิดทันที โดยไม่มีข้อโต้แย้ง+เตรียมใจ รีบตำหนิตัวเองอย่าแก้ตัว จะทำให้ลดแรงกดดันจากฝ่ายตรงข้ามได้มาก
เริ่มต้นสนทนาด้วยมิตรไมตรีที่ดี
- ถ้าเขายังโกรธเราอยู่ ไม่ว่าเราจะพูดอะไร เขาจะไม่เชื่อ ไม่ฟัง
- แสดงให้เขาเห็นว่า เรามีเจตนาที่ดีต่อเขา ต้องการช่วยเขา ด้วยใจจริง
- ปรึกษาหารือกันว่า ทำไมเราจึงเห็นขัดแย้งกัน ประเด็นปัญหาคืออะไร
ทำให้ฝ่ายตรงข้ามยอมรับ คำว่า ใช่ ,ถูก, ครับ ในทันทีที่เริ่มสนทนา
- เทคนิคของ Socrates
- เลือกเรื่องง่ายๆที่เป็นความจริงของเรื่องที่จะสนทนาที่จะพูดก่อน
พูดให้น้อย ฟังให้มาก
- ในบางกรณี การฟังจะได้ประโยชน์มากกว่า สร้างศัตรูได้น้อยกว่าการพูด
- ผู้ประสบความสําเร็จส่วนมากชอบระลึกถึงการต่อสู้ดิ้นรนในอดีต
- ไม่มีใครอยากฟังเราโม้ถึงความสำเร็จของเรา ควรถ่อมตนจะดีกว่า
ทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่าความคิดที่เราเสนอ แท้ที่จริงเป็นความคิดของเขาแต่ลืมไป หรือ เป็นความคิดของเราแต่ให้เขาพิจารณาใคร่ครวญตัดสินใจเอง
- ไม่มีใครมีความสุขที่ต้องทำอะไรเพราะความคิดของคนอื่น ถูกสั่งให้ทำ
- คนทั่วไปชอบที่จะให้คนอื่นมาพูดกับเขาว่า เขาต้องการอะไร คิดอย่างไร
- พยายามพูดย้ำโดยไม่ตั้งใจ เพื่อให้สิ่งที่พูดฝังอยู่ในใจของเขา เผื่อที่เขาจะได้นำมันมาคิดแล้วคิดอีกแล้วตัดสินใจตามเรา
พยายามอย่างสุจริตใจที่จะมองสิ่งต่างๆในแง่คิดของเขา
- คนฉลาด อดทน มีคุณสมบัติพิเศษ มีความเป็นผู้นำ เท่านั้นจึงจะทำได้
- ลองถามตัวเองว่า ถ้าเราตกอยู่ในฐานะเดียวกับเขา เราจะรู้สึกอย่างไร และจะแก้ปัญหาต่างๆอย่างไร
- ผลสำเร็จอันงดงามในการติดต่อกับผู้อื่น อาศัยหลักการของความเข้าใจแง่คิดของเขาอย่างทะลุปรุโปร่ง
- ลองถามตัวเองว่า ทำไมเขาจึงทำอย่างนั้น ทำเพื่ออะไร มีอะไรเป็นมูลเหตุจูงใจซ่อนอยู่ภายใน
เห็นใจในความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ขีดจำกัด ของเขา
- แผ่เมตตา ให้อภัย ไม่อาฆาต
- เห็นอกเห็นใจในชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ขอร้องด้วยการพูดด้วยเหตุผลว่า สิ่งที่เราเสนอดีกว่าของเขา แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เขาเสนอไม่ดี
- ถ้าเราไม่มั่นใจว่า เขาเป็นคนอย่างไร ต้องสันนิฐานไว้ก่อนว่า เขาเป็นคนมีเกียรติ์ ซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติต่อเขาด้วยดี
- ทุกคนตีราคาคุณค่าของตัวเขาเองทุกคน
- ปล่อยให้เขาคิดและเปรียบเทียบ ตัดสินใจดำเนินการเลือกเอง
- คนแต่ละคนมีนิสัยต่างกัน ได้รับการอบรบสั่งสอน มีประสบการณ์ชีวิตแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีวิธีการจัดการไม่เหมือนกัน
แสดงความคิดเห็นให้เป็นที่เร้าใจ มีพลัง และด้วยความกระตือรือร้น
- ใช้ถ้อยคำสุภาพ
- ยิ้มแย้มแจ่มใสขณะพูด
- ต้องเชื่อมั่นเต็มที่ว่า สิ่งที่เสนอนั้นสามารถปฏิบัติได้/ดีกว่าของเดิมจริง
หรือ ลองใช้วิธีการพูดท้าทายดูบ้าง เช่น
- สิ่งนี้เราเสนอนี้ คนที่เก่ง หรือ คนที่มีความสามารถเท่านั้นที่ทำได้ เราผู้เสนอมีเพียงความคิด แต่ไม่มีความสามารถ หรือ มีความชำนาญมากพอที่จะทำได้
- สิ่งที่จะทํานี้ไม่ง่าย แต่จากสิ่งที่ผ่านมาผมคิดว่าไม่เกินความสามารถของทุกคน
- สิ่งนี้คุณทำได้อยู่แล้ว ถ้าอยากจะทำ
- ผมไม่ตำหนิคุณหรอกที่คุณรู้สึกกลัว เพราะสิ่งนี้มันยาก ต้องใช้ความสามารถและความอดทนมาก คนเก่งๆเท่านั้นที่จะทําได้
สนใจทำ Presentation ติดต่อที่นี่ http://presentationxth.com/
แสดงความคิดเห็น